Posts List

Health

  • อย. ห่วงผู้บริโภคแนะวิธีเลือกซื้อและล้างผักผลไม้ช่วงเทศกาลกินเจ
    อย. ห่วงผู้บริโภคแนะวิธีเลือกซื้อและล้างผักผลไม้ช่วงเทศกาลกินเจ

    อย. ห่วงผู้บริโภค แนะวิธีเลือกซื้อและล้างผักผลไม้ ช่วงเทศกาลกินเจ (องค์การอาหารและยา)

    อย. แนะวิธีการเลือกซื้อและล้างผักผลไม้ให้ปราศจากสารพิษตกค้างจากสารฆ่าแมลงในช่วงเทศกาลกินเจ ชี้ หากผู้บริโภคได้รับสารฆ่าแมลงเข้าไปในร่างกายเป็นเวลานานจะทำให้การทำงานของระบบอวัยวะภายในร่างกายผิดปกติ อาจถึงขั้นเป็นมะเร็งได้

    นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่าในช่วงเทศกาลกินเจปีนี้ มีผู้นิยมรับประทานอาหารเจเป็นจำนวนมาก โดยผักผลไม้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหารเจ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใยในเรื่องความปลอดภัยจากการรับประทานผักผลไม้ เนื่องจากที่ผ่านมามักพบปัญหาการปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสารฆ่าแมลง

    ดังนั้น จึงขอแนะนำให้เลือกซื้อผักที่มีสภาพสดใหม่ สะอาด ไม่มีลักษณะแข็งหรือกรอบจนเกินไป ไม่มีกลิ่นฉุนแสบจมูก ไม่มีเชื้อรา ไม่มีสีผิดจากธรรมชาติ ไม่มีเศษดินหรือสิ่งสกปรกเกาะเป็นคราบติดอยู่ และที่สำคัญต้องไม่มีคราบสีขาวของสารฆ่าแมลงตกค้างอยู่ นอกจากนี้ควรเลือกซื้อผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลง ซึ่งอาจแสดงว่าผักนี้ไม่ใช้สารฆ่าแมลง

    ส่วนการเลือกซื้อผลไม้ ต้องดูที่ผิวสดใหม่ ขั้วหรือก้านยังเขียวและแข็งเปลือกไม่ช้ำหรือดำ ที่สำคัญหลังจากที่ซื้อผักผลไม้มาแล้วนั้น ควรทำความสะอาดก่อนนำไปรับประทานหรือนำไปปรุงอาหาร เพื่อลดสารพิษตกค้าง จากสารฆ่าแมลง

    โดยวิธีการล้างผักผลไม้มีหลายวิธีที่จะแนะนำให้ลองเลือกใช้กันดู ดังนี้

    ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบคกิ้งโซดา) 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำอุ่น 20 ลิตร แช่นาน 15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด จะช่วยลดปริมาณสารตกค้างได้ 80-95%

    เด็ดผักเป็นใบ ใช้น้ำสะอาดไหลผ่านหลาย ๆ ครั้ง จะช่วยลดปริมาณสารตกค้างได้ 54-63%

    ใช้ด่างทับทิม 20-30 เกร็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด ช่วยลดปริมาณสารตกค้างลงได้ 35-43%

    ใช้น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด จะสามารถช่วยลดปริมาณสารพิษลงได้ 29-38%

    ใช้เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด ช่วยลดปริมาณสารตกค้างได้ 27-38%

    อย่างไรก็ตามผักผลไม้ที่จะต้องปอกเปลือก ควรล้างน้ำให้สะอาดก่อนปอกเปลือก

    รองเลขาธิการ ฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ขอให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญในการเลือกซื้อและล้างผักผลไม้ หากเลือกซื้อหรือล้างผักผลไม้อย่างไม่ถูกวิธี อาจได้รับอันตรายจากสารเคมีตกค้างได้โดยถ้าได้รับในปริมาณมาก อาจแสดงอาการภายใน 2-3 ชั่วโมง

    อาการที่พบได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ท้องร่วง เป็นต้น แต่ถ้าได้รับในปริมาณน้อย แต่บ่อยครั้ง เป็นเวลานาน ในระยะยาวอาจทำให้เกิดอาการผิวหนังแห้ง ความจำเสื่อม เป็นหมัน มะเร็งลำไส้ เป็นต้น ฉะนั้น จึงขอย้ำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อและล้างผักผลไม้ให้ถูกวิธี เพราะนอกจากจะลดสารพิษที่ตกค้างอยู่ได้แล้วยังจะคงคุณค่าสารอาหารทั้งวิตามินและแร่ธาตุได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย

    ที่มาข้อมูล : www.kapook.com
    หากสนใจเรื่องราวอื่น ๆ สามารถติดตามอ่านต่อได้ที่ ufa369s.com

Economy

  • ก.ล.ต.เผยวิธีได้รับหุ้นไอพีโอชี้รายใหญ่ได้ตามวอลุ่ม
    ก.ล.ต.เผยวิธีได้รับหุ้นไอพีโอชี้รายใหญ่ได้ตามวอลุ่ม

    ก.ล.ต.เผยวิธีได้รับหุ้นไอพีโอชี้รายใหญ่ได้ตามวอลุ่ม อันเดอร์ไรท์ต้องเปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน

    ก.ล.ต.เผยวิธีจัดสรรหุ้นไอพีโอ ชี้การกระจายหุ้นให้นักลงทุนรายใหญ่เป็นไปตามเกณฑ์ผู้จัดจำหน่ายจัดสรรตามวอลุ่ม ชี้ อันเดอร์ไรท์ มีหน้าที่เปิดเผยรายชื่อให้นักลงทุนรับทราบก่อนเข้าลงทุน

    สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้เผยแพร่บทความการจัดสรรหุ้นไอพีโอ และนำเสนอข้อมูลของผู้จัดจำหน่าย โดย ก.ล.ต. เผยว่า หุ้นที่ออกใหม่และเสนอขายต่อประชาชน (IPO) ยังเป็นที่สนใจของผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการออกหุ้น IPO ถือเป็นกลไกหนึ่งในการระดมทุนของภาคธุรกิจจากประชาชนเพื่อนำไปใช้จ่ายเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือขยายกิจการ ขณะที่ประชาชนก็มีโอกาสลงทุนในหุ้นก่อนที่หุ้นนั้นจะมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การจัดสรรหุ้นเพื่อให้การระดมทุนสัมฤทธิผลจึงเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ

    บริษัทมหาชนจำกัดที่มีการออกและเสนอขายหุ้น IPO (issuer) จะร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่รับจองและจัดสรรหุ้น ที่เรียกว่า “ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์” หรือ underwriter ในการกำหนดสัดส่วนการเสนอขายหุ้น IPO ให้กับผู้ลงทุนในกลุ่มต่างๆ โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมทั้งด้านปัจจัยพื้นฐานและความเสี่ยงของบริษัทที่เสนอขาย เพื่อให้บริษัทระดมทุนได้ครบถ้วนบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และสามารถนำเงินไปใช้ตามแผนงานของบริษัทต่อไปตามที่ได้เปิดเผยไว้ในหนังสือชี้ชวนก.ล.ต.เผยวิธีได้รับหุ้นไอพีโอชี้รายใหญ่ได้ตามวอลุ่ม อันเดอร์ไรท์ต้องเปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน

    การจัดสรรหุ้น IPO แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

    (1) กลุ่มที่บริษัท issuer เป็นผู้จัดสรร เช่น การจัดสรรให้กรรมการพนักงาน บุคคลที่มีความสัมพันธ์ (Related Persons: RP) หรือผู้มีอุปการคุณที่สร้างประโยชน์อย่างชัดเจนให้แก่บริษัท เป็นต้น เนื่องจากผู้ลงทุนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและมีความคุ้นเคยกับ issuer ก.ล.ต. จึงกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรหุ้น IPO สำหรับการจัดสรรให้กับผู้มีอุปการคุณ โดยมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนหุ้นที่เสนอขาย และเมื่อรวมกับกรรมการพนักงานและ RP จะต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นที่เสนอขาย เพื่อให้มีการกระจายหุ้น IPO ให้กับผู้ลงทุนทั่วไปอย่างเพียงพอ ไม่กระจุกตัวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่ง สอดคล้องกับแนวทางการจัดสรรหุ้น IPO ของต่างประเทศ

    (2) กลุ่มที่ underwriter เป็นผู้จัดสรร กลุ่มนี้ถือเป็นสัดส่วนหลักของการจัดสรรหุ้น IPO โดยมี underwriter ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างบริษัทที่เสนอขายกับผู้ลงทุนทั่วไป และจะเป็นผู้พิจารณาจัดสรรหุ้น และให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุนแก่ผู้จองซื้อหุ้น ที่ผ่านมาการจัดสรรหุ้นของ underwriter จะเป็นการจัดสรรให้แก่ลูกค้าของ underwriter เป็นหลัก เช่น ลูกค้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น โดยการจัดสรรจะเป็นไปตามปัจจัยหรือเงื่อนไข (criteria) ที่ underwriter กำหนด เช่น สัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากลูกค้าในการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น จึงมักพบว่าผู้ลงทุนรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์จะได้รับการจัดสรรหุ้น IPO

    ส่วนกรณีที่การระดมทุนของ issuer อยู่ในความสนใจของผู้ลงทุนสถาบัน (institutional investor) ทั้ง issuer และ underwriter ก็อาจจัดสรรหุ้น IPO ให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ ในการจัดสรรหุ้น underwriter ต้องทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

    เช่น ห้ามจัดสรรหุ้นให้บริษัทย่อยของ issuer หรือกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ของ underwriter รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับ underwriter ด้วย อย่างไรก็ดี underwriter อาจต้องรับซื้อหุ้นส่วนที่เหลือเข้าพอร์ตโฟลิโอของบริษัทเองด้วยหากไม่สามารถจัดสรรได้ตามจำนวนที่สัญญากำหนด

    ทั้งนี้ บริษัทที่เสนอขายหุ้น IPO และ underwriter จะต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดสรรหุ้น IPO ไม่ว่าจะเป็นหลักเกณฑ์การจัดสรร ชื่อกลุ่มบุคคลที่จะได้รับจัดสรร และสัดส่วนหรือจำนวนหุ้น IPO ที่จะได้รับจัดสรรไว้ในหนังสือชี้ชวนอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบข้อมูล และนำไปประกอบการตัดสินใจลงทุน

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : ufa369s.com